Monday, September 5, 2016

จริงดิ! 13 ท่าโยคะที่ทำโดยบังเอิญในชีวิตประจำวัน ☼

วัยรุ่นสมัยนี้เริ่มหันมาออกกำลังกาย รักสุขภาพ กินอาหารมีประโยชน์กันมากขึ้น ซึ่งเทรนด์การออกกำลังกายตอนนี้ก็มีกีฬาหลายชนิดให้เลือกมากมาย แต่บางคนไม่สะดวกเข้าฟิตเนส หรือเพราะเหตุใดก็ตาม เวลาอยู่บ้านว่างๆ คุณก็สามารถออกกำลังกายได้เหมือนกันนะ ตัวอย่างเช่น จริงดิ! 13 ท่าโยคะที่ทำโดยบังเอิญในชีวิตประจำวัน บางท่าที่เราเคยชินและทำในกิจวัตรประจำวันเนี่ยใครจะไปรู้ว่านั่นก็คือส่วนหนึ่งของท่าโยคะนะ ^^ โดยทั่วไปโยคะจะเรียกกันในชื่อหนึ่งว่า อาสนะ (asana)


 การนอนหลับ ผ่อนคลายในท่าทิ้งตัวสบายๆ ก็เหมือนการทำโยคะท่าศพ (ศวาสนะ – savasana)



 นั่งเล่นยืดขาก็เหมือนทำท่าหนุมาน หรือ Hanumanasana


 ขนาดการนั่งห้องน้ำก็ยังเป็นท่าโยคะท่า upavesasana



 เวลานอนคุยกับเพื่อนอย่างผ่อนคลายก็ยังเป็นท่าโยคะ ท่าจระเข้ (Makarasana)



 แม่ใช้ให้ทำความสะอาดบ้านก็จงช่วยให้ไว นึกไว้ว่าฝึกโยคะไปในตัว



 ท่ามือถึงเท้า (Pada Hastasana)



 การยืนนิ่งๆ ก็เป็นท่าโยคะนะ ท่าภูเขา (Mountain Pose) หรือ ท่า Tadasana



 การนอนในท่าขดตัวแบบนี้ก็เหมือนการทำโยคะไปในตัว ท่า Shishu asana



 ท่า Virasana



 เวลานั่งเฉยๆ ก็ลองเอาขามาขัดสมาธิกันสิ ท่าแห่งความสุข (สุขะสนะ – Sukhasana)



 หรือแม้การนอนเล่นลองยืดตัวขาชี้ฟ้าดู ท่ายืนด้วยไหล่ Salamba Sarvangasana



 ตื่นเช้าๆ ออกไปสูดอากาศยามเช้า แล้วยืดตัวบิดขี้เกียจ อุ้ย! .. ด้วยท่า Hasta Uttanasana



ขั้นสูงกว่าท่ายืนด้วยไหล่นิดหน่อย ใช้กำแพงเป็นตัวช่วยก็ดีไม่น้อย
การฝึกโยคะ ท่ากลับศรีษะลง เท้าชี้พื้น – Salamba Sirsasana

ที่มา : www.boredpanda.com

เทคนิคเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยตนเองให้ได้ผล ❤

วันนี้เรานำเอาเทคนิคเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยตนเองให้ได้ผลมาฝากเพื่อนๆ สำหรับใครที่อยากจะเริ่มเรียนภาษาญี่ปุ่นหรือกำลังเรียนอยู่แล้วท้อแท้ ยิ่งถ้าได้มีการทบทวนฝึกซ้อมบ่อยๆ ด้วยละก็ เพื่อนๆ ต้องเก่งกันภาษาญี่ปุ่นทุกคนแน่นอน…


1. มี passion ในการเรียน
ถ้าจะบอกว่าข้อแรกนี้สำคัญที่สุดก็คงจะไม่ผิด เพราะข้อเสียของการเรียนด้วยตัวเอง คือไม่มีคนมาคอยจ้ำจี้จ้ำไชนั่นเอง ฉะนั้นเราต้องมีความต้องการที่จะเรียนจริงๆ มีความหลงไหลที่จะเรียน หากไม่มีข้อนี้แล้วการจะเรียนให้สำเร็จก็ยากแล้วละครับ หลายคนอาจจะชื่นชอบวัฒนธรรมญี่ปุ่น ชอบคนญี่ปุ่น ชอบเที่ยวญี่ปุ่น ชอบฟังเพลงญี่ปุ่น ชอบดูอนิเมะญี่ปุ่น ชอบเล่นเกมญี่ปุ่น สิ่งเหล่านี้ก็สามารถเป็นแรงผลักดันที่ดีในการเรียนภาษาญี่ปุ่นได้
2. ฝึกจำตัว ฮิระงะนะ และ คะตะคะนะ ให้ได้ก่อน
ภาษาญี่ปุ่นมีตัวอักษร ฮิระงะนะ และ คะตะคะนะ อย่างละ 46 ตัว ให้ฝึกเขียนและจำให้ได้ครบทุกตัวก่อน รวมไปถึงการฝึกผสมตัวอักษรและวิธีการอ่าน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้สามารถหาดูได้เยอะแยะมากมายบนอินเตอร์เน็ต หนึ่งในเคล็ดลับการฝึกจำก็คือ ทำฉลากตัวอักษรทั้งหมดใส่ในกล่อง เวลาอยู่ว่างๆก็หยิบขึ้นฉลากขึ้นมา แล้วให้อ่านตัวอักษรนั้นให้ได้เร็วที่สุด

3. หาหนังสือดีๆเพื่อใช้ในการเรียน
หลังจากที่จำฮิระงะนะ และ คะตะคะนะได้พอประมาณแล้ว ให้หาหนังสือดีๆมาเพื่อใช้ประกอบการเรียน โดยหนังสือดีๆนั้นมีมากมาย แต่ที่หลายคนแนะนำเบื้องต้นก็คงจะเป็น みんなの日本語 (มินนะ โนะ นิฮงโกะ) ทั้ง 4 เล่ม นอกจากนี้ที่อยากจะแนะนำก็มีหนังสือ “คันจิที่มาและความหมาย” ซึ่งมีอยู่ 4 เล่มด้วยกัน นำมาใช้ฝึกคันจิควบคู่ไปกับการเรียนจากมินนะ โนะ นิฮงโกะ

4. เริ่มฝึกตัว คันจิ ควบคู่ไปกับการเรียน
หลายคนอาจจะคิดว่าคันจิยากและน่าเบื่อ แต่สำหรับเราคิดว่ามันสนุกที่สุดสำหรับภาษาญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ นอกจากนี้การเรียนตัวคันจิจะทำให้เราเข้าใจความคิดของคนญี่ปุ่นมากขึ้นอีกด้วย ในตอนเริ่มต้นเรียนภาษาญี่ปุ่นอาจจะยังไม่ต้องเริ่มฝึกคันจิก็ได้ แต่ให้เรียนรู้และมีคำศัพท์ที่เรารู้สักประมาณหนึ่งก่อน จากนั้นค่อยเริ่มฝึกคันจิตามมาทีหลัง แนะนำว่าอย่าฝึกจำคำใหม่ที่เรายังไม่รู้ แต่ให้จำคันจิจากคำศัพท์ที่เรารู้อยู่แล้ว

5. เทคนิคการจดจำด้วยภาพและการเชื่อมโยง
วิธีการจดจำคำศัพท์ใหม่ๆ ที่ผมใช้อยู่เสมอและได้ผลดีที่สุดนั่นก็คือ การจดจำด้วยภาพและการเชื่อมโยง ยกตัวอย่างคำว่า
– 車 (คุรุมะ) แปลว่า รถ นึกถึงภาพ “คุณครูขับรถมา” > ครูมา > คุรุมะ
– 食べる (ทะเบะรุ) แปลว่า กิน นึกถึงภาพ “ก่อนกินข้าวต้องทำท่าตะเบ๊ะ” > ตะเบ๊ะ > ทะเบะรุ
– 写真 (ชะชิง) แปลว่า รูปถ่าย นึกถึงภาพ “เห็นรูปจนชาชิน” > ชาชิน > ชะชิง
การเชื่อมโยงนั้นสามารถทำได้หลากหลายรูปแบบมากและไม่จำกัดวิธีการ ซึ่งพอทำแบบนี้บ่อยๆแล้ว สุดท้ายมันก็จะจำเข้าหัวโดยอัตโนมัติเลยละ ไม่เชื่อต้องลอง


6. สร้างสิ่งแวดล้อมของตนเองให้เป็นญี่ปุ่นมากที่สุด
คอมพิวเตอร์ โซเชี่ยลเน็ตเวิร์คต่างๆ โทรศัพท์มือถือ ถ้าเป็นไปได้ให้เปลี่ยนเป็นภาษาญี่ปุ่นให้หมด ถ้ามีคำไหนที่ไม่เข้าใจก็ให้เปิดค้นหาความหมายเอา นอกจากนี้ยังมีเคล็ดลับที่อยากจะแนะนำอีกอย่างคือ เขียนคำศัพท์แปะไว้บนสิ่งของต่างๆในบ้านเลย ถ้าเราได้เห็นมันอยู่ทุกวันๆ รับรองว่าต้องจำได้อย่างแน่นอน

7. อ่านแค่หนังสือ ไม่พอสำหรับการเรียนรู้
หนังสือเป็นเพียงส่วนหนึ่งในการเรียนเท่านั้น บนโลกนี้มีสื่อการเรียนรู้อีกมากมายนอกจากในหนังสือ เช่น หาเพลงญี่ปุ่นมาฟังแล้วทำความเข้าใจความหมาย หาหนังหรือการ์ตูนญี่ปุ่นมาดู แต่อย่ามัวแต่อ่านซับไตเติ้ลนะ ไม่งั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไร ให้ใช้หูคอยฟังภาษาญี่ปุ่นไปด้วย เวลาที่เราเจอคำศัพท์ที่รู้จักจากในหนังหรือการ์ตูน มันรู้สึกภูมิใจอย่างบอกไม่ถูกเลยหล่ะ นอกจากนี้การเล่นเกมภาษาญี่ปุ่นก็ช่วยได้ไม่น้อยเลยละ

8. สงสัยตรงไหนให้หาคำตอบเดี๋ยวนั้นเลย
สมมติว่ากำลังนั่งคิดอะไรเพลินๆ แล้วอยู่ดีๆเกิดนึกแวบเข้ามาในหัวว่า “คำนี้ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่าอะไรนะ รู้สึกคุ้นๆจัง” ถ้าเป็นแบบนี้อย่าปล่อยผ่าน ให้เปิดหาคำตอบของความสงสัยเดี๋ยวนั้นเลย แล้วคำตอบของความสงสัยนั้นมันจะจำฝังหัวเราอัตโนมัติเลยละ

9. ทบทวนให้มากที่สุด
Herman Ebbinghaus ได้ทําการทดสอบความจําหลังการเรียนรู้คําที่ไม่มีความหมายในช่วงเวลาที่ต่างๆกัน พบว่าคนเราจะจําได้100%ในช่วงเริ่มต้น เมื่อเวลาผ่านไป20นาที ความจําจะเหลือ60% 1ชั่วโมงผ่านไปจะจําได้50% 9 ชั่วโมงผ่านไปจะจําได้40% และภายใน1วัน ความจําจะเหลือประมาณ30%

ข้อมูลจาก : wegointer

MY FAV YOUTUBER ☜♥☞

MY FAVOURITE YOUTUBER


Beauty and Fashion

Amanda Steele

Maddi Bragg






Family and Life Style





ย้อนแฟชั่นสุดฮิต ยุค 80’s ในภ. Sing Street รักใครให้ร้องเพลงรัก ♫ﻬ

Fashion 80’s

ยุคที่มีความโดดเด่น ทั้งด้านแฟชั่น เสื้อผ้า ทรงผม การแต่งหน้า ทั้งอ่อนหวาน และเท่แบบพังค์ ซึ่งหนีไม่พ้นเรื่องสีสันที่สะดุดตา ฉูดฉาด สีสด แสบ ซึ่งสะท้อนไปถึงงานด้านดนตรี ที่ฮอตไม่แพ้แฟชั่นยุคนี้


โดยในยุคนั้น แฟชั่นผู้หญิง – จะมาในแนวชุดเดรสยาว ผมดัดฟูๆ ตีโป่ง ทรงฟาร่า ชุดไหล่สูง เน้นเครื่องประดับวิ้งๆ ที่มาพร้อมเสื้อและกางเกงยีนส์





คราวนี้มาดูแฟชั่นฝั่งผู้ชาย – นิยมเสื้อโค้ทใหญ่กว่าตัว เสื้อยืดลายกราฟฟิกเยอะๆ แจ็คเกตหนัง กางเกงขาบาน รองเท้าสันหนา ดัดแปลงสีและทรงผม ให้ดูเด่น







แฟชั่นเหล่านี้มีอยู่ในหนังภาพยนตร์เรื่อง Sing Street  รักใครให้ร้องเพลงรัก ที่เป็นเรื่องราวที่เกิดขึ้นในยุค 80’s ในเมืองดับบลิน จึงเป็นเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของวัยรุ่นขนาดแท้ในยุคนั้น

ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Sing Street รักใครให้ร้องเพลงรัก

เทคนิคความจำแม่น แบบมหาลัยฮาร์วาร์ด! ✔

เทคนิคความจำแม่น แบบมหาลัยฮาร์วาร์ด! โดยวารสารชีพจรสุขภาพ(เฮลธ์บีท )ออนไลน์ จากสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ ได้ให้คำแนะนำไว้




1 . เชื่อมั่น การศึกษาทำในคนวัยกลางคนและสูงอายุพบว่า ความจำของคนเราแปรตามความเชื่อมั่น คนเราจะจำอะไรๆ ได้ดีถ้าเชื่อมั่นว่า “เราทำได้” คนที่มองโลกในแง่ดีและเชื่อว่า ความจำของคนเราไม่ลดน้อยถอยลงไปตามอายุจะมีความจำดีกว่าคนที่คิดว่า “โอ… เราแก่แล้ว จำสู้เด็กๆ ไม่ได้”

2 . ประหยัด ทุกวันนี้หน่วยงานดีๆ จะมีกิจกรรม “5ส” เพื่อให้หน่วยงานเป็นระเบียบ ข่าวดีคือ การจัดเรื่องต่างๆ ให้เป็นหมวดหมู่ช่วยป้องกันการลืม เครื่องมือป้องกันการลืมที่สำคัญได้แก่ ปฏิทิน แผนที่ สมุดวางแผน แผ่นจดรายการของต้องซื้อก่อนไปชอปปิ้ง สมุดจดที่อยู่-เบอร์โทรศัพท์

3 . แบ่งเป็นชุดเล็กๆ สมองคนเราจำเรื่องเล็กๆ ได้ดีกว่าเรื่องใหญ่ๆ ตัวอย่างเช่น ถ้าจะจำตัวเลข 8 หลัก “27984689? ควรแบ่งเป็น 2 ชุดแบบที่เราใช้จำเบอร์โทรศัพท์ “2798-4789? เวลาจะจำอะไรก็ควรฝึกจำทีละชุดเล็ก เช่น อ่านหนังสือวันละน้อย ฯลฯ ดีกว่าฝึกจำชุดใหญ่ เช่น อ่านหนังสือรวดเดียวก่อนสอบ ฯลฯ

4 . ใช้ประสาททั้งห้า ใช้ประสาททั้งตา หู จมูก ลิ้น และกายที่ประทับใจมากที่สุด เพื่อจดจำเรื่องราว ประทับใจอย่างเดียวยังไม่พอ ต้องขอ”เชื่อมโยง” กับประสบการณ์ในอดีตด้วยว่า สัมผัสหรือเรื่องนั้นคล้ายกับอะไรด้วย ตัวอย่างเช่น ถ้าอยากจำรายละเอียดในร้านอาหารให้ ลองสูดหายใจเข้าแรงๆ ได้กลิ่นอะไรให้รีบจำกลิ่น และเชื่อมโยงว่า กลิ่นนี้คล้ายกลิ่นอะไร เช่น คล้ายกลิ่นขนมที่คุณยายทำให้ตอนอายุ 2 ขวบ ฯลฯ

5 . ขยายขอบเขต การท่องออกเสียงดังๆ วาดภาพประกอบ บันทึก หรือทำภาพไดอะแกรมเชื่อมโยงกระบวนการเข้าด้วยกัน เช่น แผนภูมิก้างปลา ฯลฯ ช่วยให้จำได้ง่ายกว่าการอ่านในใจเพียงอย่างเดียว
6 . เรียกชื่อ คนเราจะจำชื่อคนได้ดีขึ้นถ้าเรียกชื่อคนที่เราเห็นทุกครั้ง หรือถ้านึกถึงใครในใจก็ให้รีบทบทวนชื่อคนนั้นทันที

7 . เว้นช่วง คนเราจะจำเรื่องราวต่างๆ ได้ดีถ้าทบทวนซ้ำ (repeat) ในช่วงที่ห่างกัน เช่น 2-3 วัน ฯลฯ หลายๆ ครั้งได้ดีกว่าการท่องรวดเดียว

8 . คำย่อ คำย่อมีส่วนช่วยให้จำอะไรได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างที่อาจารย์ท่านยกมาเป็นภาษาอังกฤษ เช่น ถ้าจะจำตัวอักษรตัวแรกของคำต่างๆ 5 คำ(E, G, B, D, F) ให้ลองนำอักษรตัวแรกมาแต่งเป็นประโยค เช่น Every good boys does fine. ฯลฯ

9 . ท้าทาย สมองคนเราเป็นเรื่องที่ต้อง “ท้า(ทาย)” หรือฝึกบ่อยๆ จึงจะใช้การได้ดี การฝึกสมอง เช่น การเล่นคำต่อ (crossword) หมากรุก การฝึกใช้มือข้างที่ไม่ถนัดทำงาน ฯลฯ มีส่วนช่วยฝึกสมองให้ตื่นตัว และใช้การได้ดีขึ้นในระยะยาว

10 . นอนให้พอ คนที่พักผ่อนนอนหลับเพียงพอมักจะจดจำอะไรๆ ได้ดีกว่าคนที่อดนอน ถ้าจะถนอมสมองให้ใช้ได้ดีไปนานๆ ก็ควรนอนให้พอ และอาจเสริมด้วยกิจกรรมฝึกสมาธิ เช่น ไทเกก-ไทชิ(ชี่กง) สมาธิกำหนดลมหายใจ ฯลฯ และออกกำลังเป็นประจำ


ที่มา : mcpswis.mcp.ac.th

ไอเดียแต่งภาพสวยด้วย แอพฯ VSCO Cam ❀

ตอนนี้การถ่ายภาพได้หลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราไปซะแล้ว ไม่ว่าจะถ่ายภาพอาหาร สถานที่สวยๆ หรือเสื้อผ้า จากนั้นก็จะแชร์ลงโซเชียลต่างๆ แต่กว่าจะผ่านไปถึงการแชร์นั้น สิ่งสำคัญของ(แทบ)ทุกคน จะต้องเข้าแอพฯแต่งภาพกันซะก่อน ซึ่งตอนนี้แอพฯ VSCO Cam กำลังเป็นแอพฯยอดฮิตก็ว่าได้






















ที่มา : @Filtertime, @luxuryfilters, @filteringpics